• Home
  • Lens&knowledge
  • ทำไมถึงต้องตรวจวัดสายตาในที่แสงน้อย 🤔🤔
ทำไมถึงต้องตรวจวัดสายตาในที่แสงน้อย 🤔🤔

ทำไมถึงต้องตรวจวัดสายตาในที่แสงน้อย 🤔🤔

05 ส.ค. 2566   ผู้เข้าชม 383

ในกระบวนการตรวจวัดสายตานั้น จุดสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะส่งผลต่อการหาแนวทางแก้ไขปัญหาค่าสายตา นั้นคือ ... การตรวจวัดสายตาในพื้นที่ที่มีแสงน้อยหรือในห้องมืด

 

แล้วทำไมจึงต้องตรวจวัดสายตาในพื้นที่แสงน้อยกันล่ะ ??

 

👀 ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับอวัยวะดวงตาเบื้องต้นก่อน 👀

ดวงตาของเรานั้นมีลักษณะเป็นทรงกลม ที่มีเปลือกตาและลูกตาขาวและลูกตาดำ ภายในลูกตาดำนั้นจะเป็นส่วนของม่านตา (iris) และมีรูม่านตา (pupil) ขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง ขนาดประมาณ 2-5 mm. 



รูม่านตา (pupil)  ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมปริมาณแสงเข้าสู่ดวงตาของเรา 

ม่านตา (iris) มีส่วนทำให้เกิดการหดตัวและขยายตัวของรูม่านตา เนื่องจากม่านตามีกล้ามเนื้อ 2 กลุ่ม กลุ่มวางตัวแนวรัศมีตั้งฉากกับรูม่านตา  ถ้ากล้ามเนื้อกลุ่มนี้หดตัวแล้วรูม่านตาจะขยายขนาดขึ้น  และกล้ามเนื้องวางตัวขนานกับเส้นรอบวงขอบรูม่านตา พอหดตัวจะทำให้รูม่านตาหดเล็กลง

และเมื่อทั้งสองส่วน รูม่านตา (pupil) และ ม่านตา (iris)  ทำหน้าที่ร่วมกันจะเกิดเป็นกระบวนการตอบสนอง โดยที่รูม่านตาจะหดตัวเมื่อเจอแสงเพื่อลดหรือควบคุมปริมาณแสงที่มากเกินไป และรูม่านตาจะขยายตัวเมื่อแสงน้อย เพื่อเปิดรับแสงมากขึ้นนั่นเองค่ะ

 

ฉะนั้น ในการตรวจวัดสายตาในพื้นที่ที่มีแสงน้อย หรือห้องมืด  จึงเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจวัดสายตา เนื่องจากเราต้องการให้รูม่านตาขยายใหญ่ขึ้น เพื่อให้ได้ค่าสายตาที่แท้จริงของบุคคลนั้น และสามารถตรวจวัดสายตาได้อย่างละเอียด มีประสิทธิภาพค่ะ

แต่ถ้าหากเราตรวจวัดสายตาในสภาวะที่มีแสง รูม่านตาจะไม่เกิดการขยาย ทำให้ในช่วงที่ตรวจค่าสายตา คนไข้จะเกิดการเพ่งโดยไม่รู้ตัวได้ค่ะ จะส่งผลให้ค่าสายตาคลาดเคลื่อนไปจากค่าสายตาที่แท้จริง อาจทำให้การแก้ไขปัญหาสายตามีประสิทธิภาพลดลงค่ะ 

 

การตรวจสายตาตอนที่รูม่านตาขยายโดยนักทัศนมาตร เราจะได้ทราบอะไรบ้าง 
 

ทดสอบการมองเห็น  เพื่อตรวจสอบความสามารถในการมองเห็นภาพ ว่าท่านมองเห็นภาพหรือวัตถุในแต่ละระยะมีความชัดเจนหรือเบลอ ภาพไม่ชัดเจน และประเมินค่าสายตาของท่าน เพื่อทำการแก้ไขและรักษาโดยการสวมแว่นตาที่มีค่าสายตาที่เหมาะสมกับบุคคล 

ทดสอบลานสายตา  เพื่อตรวจสอบการมองเห็นทัศนียภาพด้านข้าง ว่าท่านสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ด้านข้างของการมองเห็นได้ดีเพียงใดโดยไม่ขยับตา

ทดสอบการทำงานของกล้ามเนื้อตา  เพื่อตรวจหาปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อรอบๆ ลูกตา โดยจะเคลื่อนย้ายวัตถุไปรอบ ๆ และให้ท่านมองด้วยตา

ทดสอบการตอบสนองของรูม่านตา  เพื่อตรวจสอบว่าแสงเข้าสู่ดวงตาของท่านอย่างไร โดยนักทัศนมาตรประจำร้านจะส่องไฟฉายขนาดเล็กเข้าไปในดวงตาของคุณและตรวจดูว่ารูม่านตาของคุณตอบสนองต่อแสง

 

 

💙💙 เกร็ดความรู้เสริม 💙💙
 
 

🔬 Slit Lamp 🔬


นอกจากการตรวจวัดค่าสายตา ร้านมุลเลอร์ ออพติก มีเครื่องมือ Slit Lamp ในตรวจเช็คโรคตาส่วนหน้าเบื้องต้นโดยนักทัศนมาตร 

 

Slit Lamp เป็นกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษที่สามารถส่องเห็นทั้งภายนอกและภายในดวงตาแบบภาพ 3 มิติ


การตรวจเช็ค ท่านจะทราบอะไรบ้าง 

🔷 ผิวหนังรอบดวงตา ตรวจดูว่ามีรอยแผลหรือรอยโรคต่างๆ หรือไม่

🔷 เปลือกตาและขนตา ตรวจดูโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นที่บริเวณนี้ได้ เช่น โรคกุ้งยิง โรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอักเสบ 

🔷 สภาพผิวของดวงตา ตาแห้ง

🔷 ตาขาว ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดที่ห่อหุ้มอวัยวะต่างๆ ภายในลูกตา ส่วนบริเวณตาขาวชั้นตื้นๆ ที่เรียกว่า episclera จะเป็นบริเวณที่มีความสัมพันธ์กับโรคต่างๆ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มคัน

🔷 กระจกตา ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญที่มีผลต่อการมองเห็น การตรวจด้วยเครื่อง Slit lamp จะทำให้เห็นว่ากระจกตาใสเป็นปกติดีหรือไม่

🔷 เลนส์แก้วตา ที่อยู่ถัดจากบริเวณหลังม่านตา เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงตามอายุจะทำให้เกิดโรคต้อกระจกได้

 

 

ท่านสามารถตรวจวัดสายตาในพื้นที่แสงน้อยหรือห้องมืดที่ได้มาตรฐาน และตรวจเช็คโรคตาส่วนหน้าเบื้องต้นโดยนักทัศนมาตร กับเครื่อง Slit Lamp ได้ที่มุลเลอร์ ออพติก สาขาตรงข้ามโรงพยาบาลลานนา เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00 - 19.00 น. ค่ะ 

สอบถาม / จองคิว
Facebook : Müller OPTIK แว่นตาเชียงใหม่เฉพาะบุคคล  หรือ Tell : 063-114-6333


Lens&knowledgeที่เกี่ยวข้อง

ฝุ่น PM 2.5 ภัยใกล้ดวงตา
14 มี.ค. 2567

ฝุ่น PM 2.5 ภัยใกล้ดวงตา

ในช่วงประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา ปัญหา PM 2.5 นี้เริ่มรุนแรงขึ้นมาในประเทศไทยและยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง วันนี้ร้านแว่นตามุลเลอร์ นำเนื้อหาเกี่ยวกับ PM 2.5 กับดวงตาเรามาฝากกันเจ้าหน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อม ประเทศสหรัฐอเมริกา US. EPA (United State Environmental Protection Agency) ได้ทำการกำหนดค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์เอาไว้โดยใช้ค่า PM (Particulate Matter
ตอนนี้คุณอาจกำลังฝืนเพ่งมองโดยไม่รู้ตัวอยู่หรือไม่ !!
18 ม.ค. 2567

ตอนนี้คุณอาจกำลังฝืนเพ่งมองโดยไม่รู้ตัวอยู่หรือไม่ !!

การเพ่งมองจะส่งผลร้ายแรงมากแค่ไหน มาหาคำตอบกัน !!   ในปัจจุบันการใช้ชีวิตประจำวัน หลายๆท่านที่กำลังเรียน หรือทำงาน ต้องจดจ่อกับหน้าจออิเลคโทนิค การอ่านหนังสือ ขับรถ หรือแม้แต่การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน  เรื่องที่เลี่ยงไม่ได้เลย นั่นก็คือ อาการตาล้า ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งท่านอาจจะไม่รู้สึกตัวว่ากำลังเพ่งมองอยู่    อาการตาล้า อาจเนื่องมาจากการเพ่งมองม
โครงสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟ
13 ก.ค. 2566

โครงสร้างเลนส์โปรเกรสซีฟ

   หากคุณตัดเลนส์โปรเกรสซีฟไปแล้ว ปรับตัวได้อยาก ไม่สามารถสวมเป็นเวลานานได้อาจเป็นเพราะโครงสร้างเลนส์หรือเปล่า ❓❓   👀  ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับเลนส์โปรเกสซีฟคืออะไร  👀         Progressive Lens คือ เลนส์ที่มีกำลังของเลนส์หลายระยะเรียงตัวกันอยู่บนพื้นผิวเลนส์โดยเรียบและไร้รอยต่อ หรือแปลได้ง่ายๆคือ เลนส์ที่มีค่าสายตาหลายระยะในเลนส์เดียว ทำให้สามารถมองได