• Home
  • Lens&knowledge
  • วิธีการใช้โปรเกรสซีฟและการปรับตัว
วิธีการใช้โปรเกรสซีฟและการปรับตัว

วิธีการใช้โปรเกรสซีฟและการปรับตัว

15 พ.ค. 2566   ผู้เข้าชม 245

  สำหรับท่านที่ใส่โปรเกรสซีฟครั้งแรก

ทางร้านมีวิธีการปรับตัวและทริกดีๆในการใช้งานโปรเกรสซีฟเบื้องต้น

 

 

1. ทริกสำหรับการใช้งานในระยะไกล

   ทดลองการใช้งานของแว่นในระยะไกล เช่น ระยะการขับรถ  อ่านป้ายจราจรต่างๆ    

      - เมื่อลองแว่นโปรเกรสซีฟ ครั้งแรก ไม่ควรหันหน้าส่ายไปมาอย่างรวดเร็ว ให้ค่อยๆ หันหน้าเมื่อต้องการมอง หากส่ายหน้าเร็ว จะทำให้เกิดอาการเวียนหัวได้

      - หากเน้นมองไกล ในการขับรถ แนะนำให้เขยิบแว่นให้ออกห่างตา เพื่อให้ตาเราอยู่ในโซนมองไกลของแว่น 

      - หากต้องการมองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ควรมองด้วยหางตา จะเห็นภาพไม่ชัด ในจุดบิดเบือนด้านข้าง ทำให้เกิดอาการเวียนหัว แต่เน้นใช้การหันทั้งหน้าจะดีกว่า

      - ไม่ควรแหงนหน้า หรือเงยหน้าขณะมองระยะไกล เราจะมองผ่านโซนมองกลางและมองใกล้ ทำให้ภาพไม่ชัด และอาจจะปวดหัวได้

      - เมื่อต้องการมองเท้าตนเอง ให้ย่อเข้าลงให้หน้าเราอยู่ใกล้เท้าก่อนแล้วค่อยมอง หรือ หากสายตาไม่มากให้ถอดแว่นมองได้ เพราะหากยืนแล้วมองเท้า อาจจะให้เกิดภาพที่เป็นหลุม และเวียนหัวได้

       - เมื่อได้ลองสวมแว่นโปรเกรสซีฟตัวแรก ไม่ควรในการสวมเข้าสวมออก ควรใส่ตลอดซักระยะ เพื่อให้สมองจดจำอิริยาบถ ท่าทางต่างๆ ในการมองสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หากเวียนหัวก็ให้ลองปรับตัวและฝึกมองให้ภาพชัด สมองจะเรียนรู้และเกิดทักษะ รู้อิริยาบถในการมองสิ่งต่างๆ และจะทำให้ใส่โปรเกรสซีฟได้สบายมากขึ้น ท่าทางเป็นธรรมชาติ

       - หากต้องขึ้นบันได ให้ค่อยๆขึ้น โดยการมองไ่ปที่มุม 45 องศา หรือมองด้านหน้าแทนการมองเท้าตัวเอง เพราะหากยืนอยู่แล้วก้มมองเท้า อาจจะคำนวณระยะไม่ถูก  เวียนหัว และตกบันไดได้

       - ในเคสสายตาสั้น โปรเกรสซีฟตัวเดียวอาจไม่เหมาะสำหรับขับรถในเวลากลางคืนเสมอไป ควรมีแว่นชั้นเดียวที่ช่วยในการขับรถตอนกลางคืนเป็นเวลานาน

 

2. ทริกสำหรับการใช้งานในระยะกลางและใกล้

    ทดลองการใช้งานของแว่นในระยะกลางและใกล้  เช่น ระยะกลาง ระยะการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ระยะใกล้ ในระยะสำหรับการอ่านหนังสือ เล่นโทรศัพท์มือถือ
 

        - หากเน้นมองในระยะกลางและใกล้ เช่น นั่งทำงานที่โต๊ะ มีเอกสาร มีคอมพิวเตอร์  ให้กดแว่นให้ติดตาเลย เราจะสามารถเหลือบมองระยะใกล้ และกลางได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องแหงนหน้า

        - เมื่อเรามองสิ่งใดอยู่แล้วไม่ชัด อย่าฝืนเพ่งมอง แต่ให้ลองแหงนหน้าขึ้น หรือเงยหน้าลงเพื่อมอง เราจะเจอจุดที่ชัดที่สุดเอง หากฝืนตั้งแต่แรกจะทำให้เกิดอาการปวดกระบอกตา

        - ในการมองเอกสาร โทรศัพท์ หรือระยะใกล้ ไม่ควรเขยิบวัตถุกับใบหน้าพร้อมกัน ให้ถือวัตถุเฉยๆ ในตำแหน่งที่เราถนัด แล้วให้แหงนหน้า หรือเงยหน้าลงเพื่อมองวัตถุ

 

 

 

 𝙕𝙚𝙞𝙨𝙨 𝙋𝙧𝙤𝙜𝙧𝙚𝙨𝙨𝙞𝙫𝙚 𝙋𝙧𝙚𝙘𝙞𝙨𝙞𝙤𝙣 𝙥𝙡𝙪𝙨 𝘼𝙨𝙞𝙖𝙣𝙖 🇩🇪
ช่วยในการปรับตัว และเหลือบมองได้ง่ายขึ้น

ค่าสายตาที่จ่ายจริง
𝙍 +𝟮.𝟳𝟱 -𝟭.𝟱𝟬 𝙭𝟴𝟲
𝙇 +𝟯.𝟬𝟬 -𝟭.𝟱𝟬 𝙭𝟵𝟮
𝘼𝙙𝙙 𝟮.𝟱𝟬

เทคโนโลยี 𝗔𝗱𝗮𝗽𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗖𝗼𝗻𝘁𝗿𝗼𝗹™ 𝗧𝗲𝗰𝗵𝗻𝗼𝗹𝗼𝗴𝘆 เทคโนโลยีที่ช่วยลดการปรับตัว ทำให้ผู้สวมใส่ปรับตัวกับแว่นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และ 𝗙𝗿𝗮𝗺𝗲𝗙𝗶𝘁®+ 𝗧𝗲𝗰𝗵𝗻𝗼𝗹𝗼𝗴𝘆 ที่ทำให้เราออกแบบได้ว่า กรอบแว่นที่พี่ภูวนาถเลือกนั้น ควรใช้ระยะเหลือบที่เท่าไร ถึงจะทำให้ภาพไม่บิดเบือนจนเดินไปเจ้า

 

 

Silhouete X ZEISS Progressive Precision Plus Asiana 1.60 PhotoFusion Grey

 

OAKLEY X Essilor PAL Varilux X Series X3D 1.50 Crizal Rock Transition Brown


Lens&knowledgeที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มความมั่นใจด้วยกรอบแว่นสายตาที่เหมาะสมกับใบหน้าและการใช้งาน
13 เม.ย. 2566

เพิ่มความมั่นใจด้วยกรอบแว่นสายตาที่เหมาะสมกับใบหน้าและการใช้งาน

     ในบางครั้งที่เราอาจเกิดความลังเลในการเลือกกรอบแว่นตา แบบนี้เหมาะกับเราไหม ทรงกลม หรือทรงเหลี่ยม แบบมีแป้นจมูกหรือไม่มีแป้นจมูก หากเราเลือกกรอบแว่นตาที่เหมาะสมกับการใช้งาน อีกทั้งเหมาะสมกับใบหน้าและบุคลิกภาพก็จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับตัวเอง เสมือนการสวมใส่เครื่องประดับ             โดยส่วนใหญ่และผู้สวมใส่แว่นตาอาจจะให้ความสำคัญกับแฟชั่นมากกว่
ทำไมถึงต้องตรวจวัดสายตาในที่แสงน้อย 🤔🤔
05 ส.ค. 2566

ทำไมถึงต้องตรวจวัดสายตาในที่แสงน้อย 🤔🤔

ในกระบวนการตรวจวัดสายตานั้น จุดสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะส่งผลต่อการหาแนวทางแก้ไขปัญหาค่าสายตา นั้นคือ ... การตรวจวัดสายตาในพื้นที่ที่มีแสงน้อยหรือในห้องมืด   แล้วทำไมจึงต้องตรวจวัดสายตาในพื้นที่แสงน้อยกันล่ะ ??   👀 ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับอวัยวะดวงตาเบื้องต้นก่อน 👀 ดวงตาของเรานั้นมีลักษณะเป็นทรงกลม ที่มีเปลือกตาและลูกตาขาวและลูกตาดำ ภายในลูกตาดำนั้นจะเป็นส่วนของม่านตา (iris) และมีรูม่าน
สายตายาวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไหม ❓
23 มิ.ย. 2567

สายตายาวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไหม ❓

เรามักเห็นผู้สูงอายุสวมใส่แว่นตากันเป็นส่วนใหญ่ เราเคยคิดไหมว่าหากเราอายุเพิ่มขึึ้น จากที่เราไม่เคยสวมใส่แว่นตา เราจะต้องสวมใส่แว่นตาไหม และตอนอายุเท่าไหร่ มาหาคำตอบกันค่ะก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ "สายตายาว" กันก่อนค่ะสายตายาว (Hyperopia) เป็นภาวะผิดปกติทางสายตาที่เกิดจากกระจกตาแบนเกินไปหรือขนาดของลูกตาสั้นเกินไปเมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา การรวมแสงจึงตกหลังจอประสาทตา ทำให้ไม่สามารถมองเห็นวัตถ