• Home
  • Lens&knowledge
  • มาทำความรู้จักกับสายตาเอียงกัน 🧐
มาทำความรู้จักกับสายตาเอียงกัน 🧐

มาทำความรู้จักกับสายตาเอียงกัน 🧐

08 ก.พ. 2567   ผู้เข้าชม 68
 บางท่านอาจยังสงสัยว่าตัวเองมีภาวะสายตาเอียงหรือไม่ 
 มาหาคำตอบไปด้วยกันค่ะ 

 

 ภาวะสายตาเอียง (Astigmatism) 

คือ ความคลาดเคลื่อนของการหักเหของแสงประเภทหนึ่ง โดยรูปร่างของพื้นผิวโค้งตามปกติของกระจกตาจะโค้งงอเป็นองศาที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ความผิดปกติของความโค้งของกระจกตา คนปกติกระจกตาจะโค้งเป็นทรงกลมแบบสมบูรณ์ทำให้แสงที่ตกกระทบเข้าดวงตาถูกรวมกันในจุดโฟกัสเดียวที่จอประสาทตา แต่คนสายตาเอียงกระจกตาจะเป็นทรงรักบี้เกิดความไม่เรียบเนียนของกระจกตา

 

 

ผลจากความผิดปกตินี้ทำให้แสงที่เข้าสู่ดวงตาไม่สามารถมาบรรจบกันที่จุดโฟกัสได้ และกลับมาโฟกัสที่จุดโฟกัสต่างกันโดยมีระยะห่างระหว่างจุดเหล่านั้นแทน ส่งผลให้การมองเห็นไม่อยู่ในโฟกัสและภาพที่เกิดขึ้นบนเรตินาจะเบลอ

ทำให้มองเห็นภาพไม่คมชัดทั้งในระยะใกล้และระยะไกล เกิดเงาซ้อน ภาพบิดเบี้ยวผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง
ซึ่งภาวะนี้อาจเกิดร่วมกับปัญหาสายตาสั้น และ สายตายาวได้อีกด้วย

 

สาเหตุการเกิดสายตาเอียง โดยสายตาเอียงส่วนใหญ่มักเป็นแต่กำเนิด หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่น

  • ผู้ที่มีอาการตาเหล่
  • การมีรอยแผลเป็นบริเวณกระจกตา อันเนื่องมาจากการติดเชื้อหรือการอักเสบ
  • การประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา
  • อาการบาดเจ็บหลังเข้ารับการผ่าตัดดวงตา
  • พันธุกรรม
  • ผู้ที่เป็นโรคกระจกตาย้วย(Keratoconus) ทำให้กระจกตาเปลี่ยนเป็นรูปทรงกรวย

 

 

สายตาเอียงมี 2 ชนิด คือ สายตาเอียงแบบสม่ำเสมอ และสายตาเอียงแบบไม่สม่ำเสมอ

🟧  สายตาเอียงแบบสม่ำเสมอ  🟧

สายตาเอียงแบบสม่ำเสมอเกิดจากกระจกตาหรือเลนส์ตามีความโค้งไม่สม่ำเสมอกัน หรือมีรูปร่างผิดไปจากปกติ เช่น โค้งเป็นวงรี หรือรูปไข่ ทั้งในแนวตั้ง แนวนอน หรือแนวเฉียงเพียงทิศทางเดียว ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป และเป็นกรณีที่พบได้มากกว่าสายตาเอียงแบบไม่สม่ำเสมอ สามารถรักษาได้ด้วยการสวมใส่แว่นสายตา คอนแทคเลนส์ หรือการผ่าตัดรักษากระจกตา

🟧  สายตาเอียงแบบไม่สม่ำเสมอ  🟧

สายตาเอียงแบบไม่สม่ำเสมอเกิดจากกระจกตาหรือเลนส์ตามีความโค้งไม่สม่ำเสมอกัน หรือมีรูปร่างผิดไปจากปกติ เช่น โค้งเป็นวงรี หรือรูปไข่ ทั้งในแนวตั้ง แนวนอน หรือแนวเฉียงในหลายทิศทาง มักเกิดจากการประสบอุบัติเหตุกระทบกระเทือนดวงตา และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการสวมแว่นสายตา แต่สามารถใส่คอนแทคเลนส์ หรือผ่าตัดรักษากระจกตาได้

 

 สัญญาณเตือนที่คุณอาจมีภาวะสายตาเอียง

 

1. เห็นภาพเบลอ ไม่คมชัด ไม่ว่าจะในระยะใดก็มองภาพ วุตถุไม่ชัด ต้องคอยหรี่ตาเพ่งมอง

2. หรี่ตาเพื่อเพ่งมอง ให้คุณลองนึกถึงกล้องถ่ายภาพที่ต้องกดโฟกัสย่อเลนส์เพื่อให้แสงที่จะตกไปยังจุดรับภาพมีความชัดเจนขึ้น การหรี่ตาก็ใช้หลักการเดียวกันคือการพยายามย่อรูม่านตาให้เล็กลงเพื่อให้แสงนั้นถูกรวบเป็นจุดเดียวส่งผลให้ภาพที่ถูกส่งไปยังจอประสาทตามีความชัดเจนขึ้น

3. ปวดกระบอกตา หัวคิ้วบ่อยๆ ตาล้า ปวดศรีษะ เป็นปัญหาที่ตามมาจากการเพ่งมองและหรี่ตา แม้ว่าคุณจะรู้ตัวว่าไม่ได้หรี่ตา แต่เมื่อไหร่ที่สายตาของคุณมีปัญหาสมองของคุณจะบังคับให้ดวงตาเพ่งมองสิ่งต่างๆให้ชัดเจนโดยที่คุณไม่ตั้งใจนั่นเอง

4. ไม่สู้แสง ออกแดดแล้วแสบตา น้ำตาไหล คนที่มีอาการสายตาเอียงมักมีอาการตาไม่สู้แสง ไม่สู้แดด เมื่อออกแดดหรือเจอแสงจ้ามากๆอาจลืมตาไม่ขึ้น และมีอาการน้ำตาไหลตามมา อันเนื่องมาจากการที่คนสายตาเอียงมีจุดรับภาพที่กระจกตามากกว่า 1 จุด จึงทำให้เลนส์ตาต้องรับแสงเข้ามามากเกินไปจนทำให้เกิดอาการไม่สู้แสง

5. ขับรถตอนกลางคืนแล้วมองไม่ค่อยชัด คนสายตาเอียงเห็นภาพตอนกลางคืนไม่ชัดเท่าตอนกลางวัน เนื่องจาก ในช่วงกลางวันรูม่านตาของเราจะถูกย่อลงตามธรรมชาติเพื่อลดกการกระจายของแสงจึงส่งผลให้ภาพที่ตกกระทบไปยังจอประสาทตามีความคมชัดมากกว่า แต่เมื่อเป็นช่วงกลางคืนรูม่านตาของเราถูกขยายใหญ่ขึ้นเพื่อให้เปิดรับแสงได้มากขึ้นดวงตาจึงเปิดรับการกระจายของแสงได้มากกว่าส่งผลให้โลกตอนกลางคืนของคนสายตาเอียงเบลอกว่าเดิม

6. เห็นดวงไฟฟุ้งเป็นดาวกระจายเป็นเส้น หากในช่วงกลางคืนคุณเห็นดวงไฟฟุ้งเป็นเส้นดาวกระจายแบบในภาพให้เดาไว้เลยว่าอาจจะเป็นอาการสายตาเอียง ไฟที่ฟุ้งกระจายแบบเห็นได้ชัดที่สุดสำหรับคนที่มีอาการสายตาเอียงคือ ไฟท้ายรถสีแดง

 7. เห็นภาพ วัตถุมีเงาซ้อน เป็นภาวะสำหรับคนที่มีอาการสายตาเอียงค่อนไปทางกลุ่มอาการรุนแรง คนกลุ่มนี้มักจะเห็นสิ่งของมีเงาซ้อนๆกัน มากกว่า 2 เงาขึ้นไป ไม่สามารถจำแนกตัวอักษร และ ตัวหนังสือที่เห็นได้ โดยเฉพาะตัวเลข

 

 
 สายตาเอียงเกิดร่วมกับปัญหาสายตาอื่นๆ 


⭐ 1. สายตาเอียงพร้อมกับสายตาสั้น ⭐

ภาวะสายตาเอียงร่วมกับสายตาสั้น คือ รูปร่างกระจกตาหรือความโค้งของกระจกตามีความผิดปกติ เมื่อแสงสะท้อนเข้าสู่ดวงตาแล้ว เกิดการหักเหจนทำให้จุดรวมแสงตกกระทบไม่ถึงจอประสาทตา และยังเกิดจุดโฟกัสขึ้นมากกว่า 1 จุด ส่งผลให้ผู้ที่มีภาวะนี้ มองวัตถุในระยะไกลได้ไม่ชัดเจน และยังเกิดภาพเงาซ้อนขึ้นอีกด้วย

⭐ 2. สายตาเอียงพร้อมกับสายตายาว ⭐
 
ภาวะสายตาเอียงที่มาพร้อมกับสายตายาว คือ เมื่อแสงสะท้อนเข้าสู่ดวงตาของเรา จะเกิดการหักเหผิดพลาด ทำให้จุดรวมแสงตกกระทบเลยจอประสาทตาไป และยังเกิดจุดโฟกัสมากกว่า 1 จุด ทำให้ผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงร่วมกับสายตายาว มองวัตถุระยะใกล้ๆได้ไม่ชัดเจน และอาจเกิดเงา ภาพเบลอ หรือบิดเบี้ยวไม่ตรงกับความเป็นจริงได้

3. สายตาเอียงแบบผสม

ปัญหาสายตาเอียงแบบผสม คือ ปัญหาที่มีความซับซ้อน เนื่องจากในดวงตาข้างเดียวกันอาจมีการหักเหแสงทั้งแบบสายตาสั้น และสายตายาว เมื่อแสงสะท้องเข้าสู่ดวงตา เกิดการหักเหให้จุดรวมแสงจุดหนึ่งตกกระทบที่บริเวณด้านหน้าจอประสาทตา ส่วนอีกจุดหนึ่งตกกระทบเลยจอประสาทตาไป ทำให้ผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงแบบผสม มองเห็นได้ไม่ชัดเจน มีอาการปวดหัว วิสัยทัศน์ถูกบิดเบือนอย่างมาก

 

 วิธีการรักษาสายตาเอียง 

 

1. การสวมแว่นตา

เป็นการแก้ไขปัญหาสายตาที่ได้ผลลัพธ์รวดเร็ว และมีความปลอดภัยสูง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียงในระดับปกติ โดยการนำค่าวัดสายตาที่ได้จากแพทย์หรือนักทัศนมาตร ไปสั่งตัดแว่นสายตาเอียงที่มีความจำเพาะกับแต่ละบุคคล

2. การใส่คอนแทคเลนส์

ได้ผลลัพธ์คล้ายคลึงกับการใส่แว่นสายตา เหมาะสำหรับผู้ที่ใส่แว่นตาไม่ได้ เนื่องจากเกิดอาการมึนศีรษะ หรือไม่ชื่นชอบในการใส่แว่นตา ต้องการมีมุมมองที่กว้าง และทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างอิสระ

3. การผ่าตัดรักษาสายตาเอียง

ในบางรายที่มีภาวะสายตาเอียงระดับรุนแรง หรือผู้ที่ไม่ต้องการใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์อีกแล้ว อาจเหมาะกับการแก้ไขความผิดปกติของสายตาโดยการผ่าตัดมากกว่า เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถาวร ทำให้อิสระในการทำสิ่งต่างๆกลับคืนมาอีกครั้ง

 

 ทดสอบสายตาเอียงเบื้องต้นด้วยตัวเอง 

 

🔍  ขั้นตอนเตรียมการทดสอบ  🔍

1. ปรับแสงหน้าจอให้สว่างเพียงพอที่จะมองเห็นภาพได้คมชัด

2. เลื่อนให้ภาพมีระยะห่างจากดวงตาเราประมาณ 40 เซนติเมตร หรือ 1 ช่วงแขน

3. สังเกตภาพแบบทดสอบก่อนเริ่มทดสอบจะเห็นได้ว่าเส้นทุกองศามีความเข้มของเส้นเท่ากัน

 

 

 

🔍  ขั้นตอนการทดสอบ  🔍

1. เริ่มจากการปิดตาด้านใดด้านนึง เพื่อทดสอบดวงตาอีกข้าง และให้มองไปที่รูปพัด โดยเริ่มจากตรงกลาง 90 องศา ค่อยๆมองกวาดลงไปด้ายซ้ายและขวา

2. จะมองเห็นเส้นตรงในแต่ละเส้นจะดำเข้ม ดำอ่อนไม่เท่ากัน แสดงว่าท่านอาจมีสายตาเอียง
หากท่านที่มองเห็นทุกเส้นเป็นสีดำเท่ากันหมด แสดงว่าท่านอาจไม่มีสายตาเอียง หรือมี แต่น้อยมาก

3. ท่านที่มองเห็นสีเส้นแตกต่างกัน โดยจะเห็นเส้นที่ดำเข้มที่สุด ชัดที่สุด แสดงว่าองศาเอียงของท่านอยู่ในแนวแกนดังกล่าว หรือไม่ก็แนวตั้งฉากกับแกนนั้น (เช่นถ้าเห็นเส้นที่ 90 องศาเข้มที่สุด แสดงว่าสายตาเอียงที่ 90 หรือ 180 องศา)

4. สลับทำกับดวงตาอีกข้าง ในขั้นตอนเหมือนกัน

หากท่านยังไม่แน่ใจว่าตัวเองมีสายตาเอียงหรือไม่ แนะนำให้เข้ารับการปรึกษาและตรวจวัดสายตาอย่างละเอียดกับนักทัศนมาตรหรือ

 

 

ภาวะสายตาเอียงเกิดขึ้นได้ทั้งตั้งแต่เกิดที่มาจากพันธุกรรมจากพ่อแม่ หรือสามารถเกิดได้จากการประสบอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับดวงตา ทั้งนี้การสังเกตุว่าท่านมีสายตาเอียงหรือไม่ ให้สังเกตุพฤติกรรมการใช้สายตาของตัวท่านเอง เช่น มองภาพหรือวัตถุไม่ชัดในทุกระยะ การเกิดภาพซ้อน ต้องหรี่ตาเพ่งมองจึงจะมองได้คมชัด หรือที่สังเกตุได้ชัดคือ การมองแสงไฟในตอนกลางคืน หากแสงไฟแตกออกเป็นแฉก ให้คำนึงว่าท่านอาจมีสายตาเอียง หากไม่แน่สามารถตรวจวัดสายตากับนักทัศมาตรหรือจักษุแพทย์ เพื่อการรักษาสายตาของท่านและการมองเห็นที่คมชัด ไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 

 

อ้างอิง

www.samitivejchinatown.com/th/health-article/Astigmatism
www.pobpad.com
www.total.myalcon.com/ca/astigmatism/
www.news-medical.net/health/Astigmatism-Diagnosis-and-Treatment.aspx

 

✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨

ปรึกษา และตรวจวัดสายตากับนักทัศนมาตรโดยไม่มีค่าบริการได้ที่ มุลเลอร์ ออพติก
สาขาตรงข้ามโรงพยาบาลลานนา ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ และสาขาห้างโฮมโปรสันทรายค่ะ
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00 - 19.00 น.

สอบถาม / จองคิว
Facebook : Müller OPTIK แว่นตาเชียงใหม่เฉพาะบุคคล  หรือ Tell : 063-114-6333

 

 

 

 


Lens&knowledgeที่เกี่ยวข้อง

ตอนนี้คุณอาจกำลังฝืนเพ่งมองโดยไม่รู้ตัวอยู่หรือไม่ !!
18 ม.ค. 2567

ตอนนี้คุณอาจกำลังฝืนเพ่งมองโดยไม่รู้ตัวอยู่หรือไม่ !!

การเพ่งมองจะส่งผลร้ายแรงมากแค่ไหน มาหาคำตอบกัน !!   ในปัจจุบันการใช้ชีวิตประจำวัน หลายๆท่านที่กำลังเรียน หรือทำงาน ต้องจดจ่อกับหน้าจออิเลคโทนิค การอ่านหนังสือ ขับรถ หรือแม้แต่การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน  เรื่องที่เลี่ยงไม่ได้เลย นั่นก็คือ อาการตาล้า ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งท่านอาจจะไม่รู้สึกตัวว่ากำลังเพ่งมองอยู่    อาการตาล้า อาจเนื่องมาจากการเพ่ง
ฝุ่น PM 2.5 ภัยใกล้ดวงตา
14 มี.ค. 2567

ฝุ่น PM 2.5 ภัยใกล้ดวงตา

ในช่วงประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา ปัญหา PM 2.5 นี้เริ่มรุนแรงขึ้นมาในประเทศไทยและยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง   หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อม ประเทศสหรัฐอเมริกา US. EPA (United State Environmental Protection Agency) ได้ทำการกำหนดค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์เอาไว้โดยใช้ค่า PM (Particulate Matters) เป็นเกณฑ์ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ฝุ่น PM 10 หรือที่โดยทั่วไปเรียกว
ปัจจัยสาเหตุที่คาดว่าก่อให้เกิดอาการสายตาสั้นในเด็ก
13 มี.ค. 2566

ปัจจัยสาเหตุที่คาดว่าก่อให้เกิดอาการสายตาสั้นในเด็ก

  ปัจจัยสาเหตุที่คาดว่าก่อให้เกิดอาการสายตาสั้นในเด็ก ปัจจัยทางกรรมพันธ์ุ  จากงานวิจัย พบว่าในกลุ่มเด็กที่มีผู้ปกครองสายตาสั้น ทั้งพ่อและแม่ของเด็ก ส่งผลให้เด็กมีโอกาสสายตาสั้นถึงร้อยละ 40  แต่หากพ่อหรือแม่ของเด็กมีภาวะสายตาสั้น จะส่งผลให้เด็กมีโอกาสสายตาสั้นที่ร้อยละ 20 และหากพ่อและแม่ที่ไม่มีภาวะสายตาสั้น อาจส่งผลให้เด็กมีโอกาสสายตาสั้นที่ร้อยละ 10 ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม จากการ