• Home
  • Lens&knowledge
  • รู้หรือไม่? ว่าแดดช่วงหน้าหนาวเป็นอันตรายเราถึง 2 เท่า 🤔🤔
รู้หรือไม่? ว่าแดดช่วงหน้าหนาวเป็นอันตรายเราถึง 2 เท่า 🤔🤔

รู้หรือไม่? ว่าแดดช่วงหน้าหนาวเป็นอันตรายเราถึง 2 เท่า 🤔🤔

14 ธ.ค. 2566   ผู้เข้าชม 27

 

แสงแดดเป็นแหล่งที่มาของพลังงานทั้งหมด และมีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิต และมีรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือรังสียูวี (UV) ซึ่งในกระบวนการทางชีวภาพทั่วไปที่ต้องการความสมดุล นั่นคือ แสงแดดเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็มีขีดจำกัด เพราะเมื่อได้รับรังสียูวี (UV) ที่มากับแสงแดดมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อผิวและดวงตาได้เช่นกัน

 

ในช่วงฤดูหนาว ด้วยสภาพอากาศที่เย็นสบายก็อาจทำให้หลายคนละเลยการอยู่ในที่โล่งแจ้ง แต่อย่าลืมว่าความรุนแรงของแสงแดดนั้นไม่ได้ลดน้อยลงไป ต่อให้จะยืนอยู่กลางแจ้งแล้วไม่มีเหงื่อ ก็ไม่ได้หมายความว่าแสงแดดจะไม่มีรังสีทำร้ายเราน้าา

 

โดยปกติแล้ว เราสามารถใช้ครีมกันแดดช่วยปกป้องรังสี UV ที่จะทำร้ายเรา แต่ดวงตา เป็นอวัยวะที่หลายคนอาจมองข้าม รังสีที่มาจากแดดสามารถทำร้ายดวงตาได้เช่นกัน หรือแม้ในวันที่ไม่มีแสงแดดจ้า ร่างกายก็ยังคงได้รับรังสียูวีในปริมาณมาก ทำให้ประสิทธิภาพของกลไกป้องกันดวงตาตามธรรมชาติ การหดแคบลงของรูม่านตา การหลับตาหรือการหรี่ตาก็เป็นอีกกลไกหนึ่งที่ช่วยปกป้องดวงตาตามธรรมชาติมีข้อจำกัด (bangkokhospital, มปป)

 

🌈  รังสียูวี  (Ultraviolet) นั้นส่งผลต่อดวงตาของเราแค่ไหน  👀  

 

รังสียูวี  ซึ่งเป็นคลื่นแสงที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็นด้วยตา แสงที่มองเห็นด้วยตามีความยาวคลื่น 400 – 700 นาโนเมตร รังสียูวีจึงมีความยาวคลื่นสั้นกว่า 400 นาโนเมตร มีพลังงานสูงและไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า

 

 

🌈  รังสีในช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 100 - 400 นาโนเมตร แบ่งได้ 3 ช่วงตามความยาวคลื่น ได้แก่  🌈

 

1. รังสียูวี ซี (UV C rays, 100 – 280 nm) เป็นรังสียูวีที่มีพลังงานสูงที่สุดและสามารถก่อให้เกิดอันตรายกับผิวหนังและดวงตาได้มากที่สุด โอโซนในชั้นบรรยากาศสามารถกรองไว้ได้หมด แต่ปัจจุบันชั้นโอโซนในบรรยากาศกำลังถูกทำลายมากขึ้น จึงทำให้รังสีชนิดนี้อาจทะลุผ่านลงมาสู่พื้นผิวโลกมากขึ้นและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

2. รังสียูวี บี (UV B rays, 280 – 320 nm) เป็นรังสีที่มีพลังงานน้อยกว่ารังสียูวี ซี ถูกกรองโดยชั้นโอโซนได้บางส่วน รังสีบางส่วนที่ทะลุผ่านลงมายังโลกในปริมาณน้อยจะกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานิน  (Melanin) ทำให้สีผิวคล้ำขึ้น ส่วนรังสีในปริมาณมากจะทำให้ผิวหนังไหม้ เกิดจุดด่างดำ รอยเหี่ยวย่น และเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งผิวหนัง

3. รังสียูวี เอ (UV A rays, 320 – 400 nm) เป็นรังสีที่มีพลังงานต่ำกว่า 2 ชนิดแรก แต่สามารถทะลุผ่านกระจกตาเข้าไปสู่เลนส์ตาและจอตาได้ การได้รับรังสีชนิดนี้เป็นปริมาณมากอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดต้อกระจกและบางการวิจัยพบว่าอาจมีผลต่อการเกิดจุดภาพชัดเสื่อมด้วยเช่นกัน

 

🌞  แสงแดดมีอันตรายต่อดวงตาในบริเวณต่าง ๆ ดังนี้  🌞

🔷  เปลือกตา สีผิวเปลี่ยน มีจุดด่างดำ ริ้วรอยรอบดวงตา นอกจากนี้ยังมีรายงานพบว่า มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณเปลือกตาบางชนิด เช่น  Basal Cell Carcinoma Squamous Cell Carcinoma ตลอดจน Malignant Carcinoma อาจเกี่ยวเนื่องมาจากการได้รับแสงแดดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน

🔷 เยื่อบุตา มีการเสื่อมของเยื่อบุตาบริเวณที่ชิดกับขอบตาดำ เรียกว่า ต้อลม ซึ่งเกิดจากการระคายเคืองจากลม ฝุ่น รังสียูวี หากต้อลมลุกลามเข้าไปในตาดำ เรียกว่า ต้อเนื้อ ไม่เพียงทำให้เกิดความไม่สวยงาม แต่อาจรบกวนการมองเห็น หรือหากมีการอักเสบ จะทำให้มีอาการปวดและระคายเคืองได้

🔷 กระจกตา การอักเสบเฉียบพลันของกระจกตา ทำให้มีอาการปวดตามาก น้ำตาไหล มักจะเกิดอาการประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง หลังจากได้รับรังสียูวีปริมาณมาก เช่น แสงสะท้อนจากหิมะ หรือรังสียูวีจากการเชื่อมโลหะโดยไม่ส่วมใส่แว่นป้องกัน อาการมักจะเป็นอยู่ชั่วคราวประมาณ 1 – 2 วัน

🔷 เลนส์ตา การเกิดต้อกระจก แม้ว่าต้อกระจกจะเกิดจากการเสื่อมตามวัย แต่พบว่าการได้รับรังสียูวี ทำให้เป็นต้อกระจกมากขึ้นได้ ในแต่ละปีมีประชากรกว่า 16  ล้านคนทั่วโลกตาบอดจากต้อกระจก จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า ประมาณ 20% ของต้อกระจกอาจมีสาเหตุมาจากการได้รับรังสียูวีมากเกินไปซึ่งเป็นสาเหตุที่หลีกเลี่ยงได้

🔷 จอตา  ในคนหนุ่มสาวเลนส์ตาที่ยังใสอยู่ไม่สามารถดูดซับรังสียูวีไว้ได้หมด จึงมีโอกาสที่รังสียูวีจะเข้าไปทำลายจอตาทำให้เกิดจอตาเสื่อมได้ แม้ว่าในจอตาของเราจะมีสารหรือเม็ดสีตามธรรมชาติที่ช่วยปกป้องจอตา แต่สารเหล่านี้จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้กระบวนการป้องกันจอตาตามธรรมชาติลดลงและเกิดการเสื่อมของจอตาได้ง่ายขึ้น เมื่อได้รับรังสียูวี นอกจากนี้บางการศึกษาเชื่อว่ารังสียูวีน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะจุดรับภาพเสื่อมในผู้สูงอายุ (Age – Related Macular Degeneration, AMD)
 (bangkokhospital, มปป)

 

 

นอกจากนี้ แสงสีฟ้า (Blue Light or High – Energy Visible Radiation) ก็มีส่วนที่ส่งผลอันตรายต่อดวงตาเรา ยิ่งในปัจจุบันเราสามารถเจอแสงสีฟ้าได้แทบจะตลอดทั้งวัน ทั้งจากคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และหน้าจอโทรศัพท์มือถือ

ซึ่งแสงสีฟ้ามีช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 381 -500 นาโนเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงคลื่นรังสียูวี แสงสีฟ้าปริมาณสูงสามารถทำลายเซลล์อย่างถาวรในบางคน และหากได้รับแสงสีฟ้าเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดจุดภาพชัดเสื่อม ซึ่งเป็นจุดสำคัญในจอตา โดยเซลล์จะถูกทำลายอย่างช้า ๆ และทำให้สูญเสียการมองเห็นส่วนกลางอย่างถาวรในที่สุด (พญ วีรยา พิมลรัฐ)

 

 

✅ เลนส์ป้องกันรังสียูวีและป้องกันแสงสีฟ้าที่แนะนำ ✅

 

ZEISS UVProtect เลนส์คุณภาพจากประเทศเยอรมัน 

เทคโนโลยี ZEISS UVProtect ดูดซับรังสียูวีที่อาจเป็นอันตรายได้สูงถึง 400 นาโนเมตรก่อนที่จะเข้าถึงดวงตาของคุณ เลนส์ใสพร้อมการป้องกันรังสียูวีจาก ZEISS ปกป้องดวงตาของคุณอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับแว่นกันแดดระดับพรีเมียมในช่วงเวลาที่คุณไม่มีแว่นกันแดด

 

 

 

เลนส์กรองแสงคุณภาพ Essilor จากประเทศฝรั่งเศส

CRIZAL BLUE UV CAPTURE

นวัตกรรมใหม่ในการกรองแสงสีน้ำเงินอมม่วง
ด้วยฟีเจอร์ล่าสุดที่มาพร้อมกับคุณสมบัติดูดซับช่วงคลื่นแสงที่เป็นอันตรายในวัสดุเนื้อเลนส์
เลนส์จึงยังคงความใส ไม่ทำให้การมองเห็นสีผิดเพี้ยน

 

 

เลนส์กรองแสงคุณภาพ HOYA จากประเทศญี่ปุ่น

ให้สีสันที่เป็นธรรมชาติมากกว่า และช่วยถนอมสายตาให้ผ่อนคลายขณะท่องโลกดิจิทัล

 

 

ฉะนั้น การสวมใส่แว่นกันแดดหรือแว่นสายตา จะช่วยป้องกันอันตรายจากแสงแดดหรือรังสียูวีได้ โดยที่ควรเลือกแว่นตาที่เลนส์มีการเคลือบผิวหน้าเลนส์ด้วยสารป้องกันรังสียูวี หรือเพิ่มการปกป้องดวงตาจากแสงสีฟ้า ก็ควรสวมแว่นตาที่มีการเคลือบผิวหน้าเลนส์ด้วนสารกรองแสงสีฟ้า เพื่อถนอมดวงตา และยืดอายุการใช้งานของดวงตาเราค่ะ

 

 

#Review by Muller Optik

 

 

𝗕𝗹𝗮𝗰𝗸𝗳𝗶𝗻 𝗔𝗘𝗥𝗢 𝗕𝗠𝗕𝗥𝗜𝗗𝗚𝗘 𝗕𝗙𝟵𝟱𝟳 𝟭𝟰𝟬 𝗖𝗢𝗟.𝟭𝟰𝟭𝟭 𝘅 𝗭𝗲𝗶𝘀𝘀 𝗖𝗹𝗲𝗮𝗿𝗩𝗶𝗲𝘄 𝗕𝗹𝘂𝗲𝗚𝘂𝗮𝗿𝗱 𝟭.𝟲𝟬 ✨✨

กรอบแว่นตาคุณภาพ 𝗕𝗹𝗮𝗰𝗸𝗳𝗶𝗻 จากประเทศ 𝑰𝒕𝒂𝒍𝒚 และเลนส์คุณภาพ 𝗖𝗮𝗿𝗹 𝗭𝗘𝗜𝗦𝗦 จากประเทศ 𝑮𝒆𝒓𝒎𝒂𝒏𝒚
ให้การสวมใส่ที่เบาด้วยวัสดุไททาเนียม ยืดหยุ่ด และเลนส์ ZEISS BlueGuard Lenses ปกป้องดวงตาจากแสงสีน้ำเงิน
ที่เป็นอันตราย (ช่วงคลื่น 400 ถึง 455 นาโนเมตร) ได้สูงถึง 40%.
นอกจากนี้ สามารถป้องกันรังสี UV 400 นาโนเมตร ได้ 100%

 

 

 

𝗖𝗔𝗥𝗩𝗘𝗡 𝗙𝗥𝗢𝗠 𝟱𝟬 𝗖𝟳 𝘅 𝗭𝗘𝗜𝗦𝗦 𝗣𝗿𝗼𝗴𝗿𝗲𝘀𝘀𝗶𝘃𝗲 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁𝗟𝗶𝗳𝗲 𝗣𝘂𝗿𝗲 𝟭.𝟱𝟬  𝗣𝗵𝗼𝘁𝗼 𝗙𝘂𝘀𝗶𝗼𝗻 𝗫 𝗕𝗿𝗼𝘄𝗻
DuraVision Platinium, UV

กรอบแว่นตา 𝘾𝘼𝙍𝙑𝙀𝙉 ประเทศฝรั่งเศส การออกแบบที่คลาสสิกและมีเอกลักษณ์ และเลนส์ 𝘾𝙖𝙧𝙡 𝙕𝙀𝙄𝙎𝙎 โปรเกรสซีฟ
รุ่น 𝙎𝙢𝙖𝙧𝙩𝙇𝙞𝙛𝙚 โครงสร้างเลนส์ที่นุ่มนวล ให้การมองเห็นที่ชัดเจน และสบายตา พร้อมด้วย UV Coating
สามารถป้องกันรังสี UV 400 นาโนเมตร ได้ 100%

 

 

✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨

ปรึกษา และตรวจวัดสายตากับนักทัศนมาตรโดยไม่มีค่าบริการได้ที่ มุลเลอร์ ออพติก
สาขาตรงข้ามโรงพยาบาลลานนา ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ และสาขาห้างโฮมโปรสันทรายค่ะ
เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00 - 19.00 น.

สอบถาม / จองคิว
Facebook : Müller OPTIK แว่นตาเชียงใหม่เฉพาะบุคคล  หรือ Tell : 063-114-6333

 

 


Lens&knowledgeที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มความมั่นใจด้วยกรอบแว่นสายตาที่เหมาะสมกับใบหน้าและการใช้งาน
13 เม.ย. 2566

เพิ่มความมั่นใจด้วยกรอบแว่นสายตาที่เหมาะสมกับใบหน้าและการใช้งาน

     ในบางครั้งที่เราอาจเกิดความลังเลในการเลือกกรอบแว่นตา แบบนี้เหมาะกับเราไหม ทรงกลม หรือทรงเหลี่ยม แบบมีแป้นจมูกหรือไม่มีแป้นจมูก หากเราเลือกกรอบแว่นตาที่เหมาะสมกับการใช้งาน อีกทั้งเหมาะสมกับใบหน้าและบุคลิกภาพก็จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับตัวเอง เสมือนการสวมใส่เครื่องประดับ             โดยส่วนใหญ่และผู้สวมใส่แว่นตาอาจจะให้ความสำคัญกับแฟชั่นมาก
ฝุ่น PM 2.5 ภัยใกล้ดวงตา
14 มี.ค. 2567

ฝุ่น PM 2.5 ภัยใกล้ดวงตา

ในช่วงประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา ปัญหา PM 2.5 นี้เริ่มรุนแรงขึ้นมาในประเทศไทยและยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง   หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อม ประเทศสหรัฐอเมริกา US. EPA (United State Environmental Protection Agency) ได้ทำการกำหนดค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์เอาไว้โดยใช้ค่า PM (Particulate Matters) เป็นเกณฑ์ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ฝุ่น PM 10 หรือที่โดยทั่วไปเรียกว
ปัจจัยสาเหตุที่คาดว่าก่อให้เกิดอาการสายตาสั้นในเด็ก
13 มี.ค. 2566

ปัจจัยสาเหตุที่คาดว่าก่อให้เกิดอาการสายตาสั้นในเด็ก

  ปัจจัยสาเหตุที่คาดว่าก่อให้เกิดอาการสายตาสั้นในเด็ก ปัจจัยทางกรรมพันธ์ุ  จากงานวิจัย พบว่าในกลุ่มเด็กที่มีผู้ปกครองสายตาสั้น ทั้งพ่อและแม่ของเด็ก ส่งผลให้เด็กมีโอกาสสายตาสั้นถึงร้อยละ 40  แต่หากพ่อหรือแม่ของเด็กมีภาวะสายตาสั้น จะส่งผลให้เด็กมีโอกาสสายตาสั้นที่ร้อยละ 20 และหากพ่อและแม่ที่ไม่มีภาวะสายตาสั้น อาจส่งผลให้เด็กมีโอกาสสายตาสั้นที่ร้อยละ 10 ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม จากการ